ไทย | EN
logo foodproject
365 Days Order & Delivery

ศัพท์อาหารญี่ปุ่น

เลือก: A B c d e f g h i j k m n o p r s t u w y z

U

Udo

Udo Aralia Cordata เป็นพืชที่มีกลิ่นหอมลำต้นและใบมีสีขาวซึ่งสามารถรับประทานได้ มันมีรสชาติและกลิ่นที่ทำให้นึกถึง หน่อไม้ฝรั่ง Udo นั้นมีแบบที่ปลูกและหาเก็บตามป่า Udo ป่า (Yama Udo) เป็นส่วนหนึ่งของเมนูที่ทำจากสมุนไพรและผัก (Sansei Ryori) และจะต้องนำไปลวกก่อนนำไปรับประทาน มันมีรสชาติที่แรงกว่าแบบปลูกเองซึ่งจะมีสีซีดเนื่องจากปลูกในที่มืด ลำต้นอ่อนของมันมีให้เก็บได้ตลอดทั้งปีแต่จะดีที่สุดในช่วงฤดูใบไม้ผลิ สามารถรับประทานได้ทั้งแบบดิบหรือใช้สำหรับซุปใส (Suimono), เมนูยำในน้ำส้มสายชู (Sunomono), เมนูยำ (Aemono) และเมนูผักต้ม o-htashi

Udon

อุด้ง เส้นก๋วยเตี๋ยวข้าวสาลีแบบนุ่มและหนา ก๋วยเตี๋ยวที่เป็นที่นิยมชนิดนี้จะใช้รับประทานแบบสดๆ จะถูกเสิร์ฟในชามน้ำซุปพร้อมเครื่องเคียง เช่น เต้าหู้ทอด (Abura-Age) (อยู่ในชามเรียกว่า Kitsune Udon) หรือเทมปูระ (Tempura) (ใน Tempura Udon) ไม่ควรจำ Tenpura Udon สับสนกับ Tendon ซึ่งเป็น Tempura Donburi ซึ่งเป็นเมนูข้าว

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

Udonsuki

เมนูหม้อไฟ (Nabemono) ซึ่งอุด้ง (Udon) จะถูกทำในหม้อ มีน้ำซุปใสกับไก่หรือปลาและผัก

Uiro

ของหวานรูปทรงสี่เหลี่ยมที่มีความเหนียวนุ่มและมีลักษณะคล้ายเจลาตินที่ทำจากแป้งข้าวเจ้าหรือแป้งมัน (Kuzu) และแต่งสีแต่งกลิ่นด้วยผงชาเขียวหรือถั่วแดง an ของถั่วแดงบด (Azuki)

Ukon

ขมิ้น Curcuma Domestica จะถูกใช้ในการดองตาก้วงเพื่อให้สีเหลืองสวยงามและจะถูกใช้ในแกงกระหรี่เพื่อกลิ่นหอม

Umami

อูมามิ (อร่อยกลมกล่อม)

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

Ume

บ๊วยญี่ปุ่น Prunus Mume (Armeniaca Mume) ผลไม้ผลเล็กๆที่โตในช่วงต้นฤดูร้อนนี้มักจะมักจะถูกเข้าใจผิดว่าเป็นพลัมญี่ปุ่นซึ่งสามารถนำไปใช้ได้สองทางหลักๆ หนึ่งคือมันจะถูกนำไปทำให้เปื่อยในแอลกออฮอล์กับน้ำตาลก้อนเพื่อทำเป็นเหล้าดองบ๊วย (Umeshu) ที่รสชาติอร่อย หรือดองเค็มเพื่อทำเป็นบ๊วยดอง (Umeboshi)

Umeboshi

บ๊วยดองญี่ปุ่นดองเค็มแบบแห้ง แอปปริคอทเหล่านี้มีทั้งแบบใหญ่และเล็ก นุ่มและแข็ง และเป็นอาหารที่ใช้รับประทานในทุกวัน โดยปกติจะมีสีแดงด้วยใบชิโสะแดง (Shiso) โดยส่วนมากจะใช้กินเป็นของดองกับข้าวแต่ว่าชิ้นที่ใหญ่และนุ่มจะถูกนำไปล้างเกลือออกด้วยน้ำแล้วนำไปทำเป็นเทมปูระ (Tempura) ที่ยอดเยี่ยมได้ หากดื่มชาเขียว (Dancha) ที่ใส่บ๊วยดอง (Umeboshi) ในตอนเช้าจะทำให้เป็นเช้าที่สดใส ข้าวกล้อง (Bento) ที่มีบ๊วยดอง (Umeboshi) อยู่บนข้าวจะเรียกว่า Hinomaru Bento ตามชื่อธงของญี่ปุ่น ข้าวต้ม (Kayu) ซึ่งเป็นข้าวเข้ามักจะเสิร์ฟกับบ๊วยดอง (Umeboshi)

Umeshu

เหล้าที่ทำด้วยการนำบ๊วยญี่ปุ่น (Ume) ไปทำให้เปื่อยในแอลกอฮอล์กับน้ำตาลก้อน มันมีรสขมที่แรงของ อัลมอนด์จาก กรด Prussic ในหินซึ่งไม่เป็นพิษ ในฤดูร้อนมันจะถูกดื่มเพื่อทำให้เลือดเป็นด่างและในฤดูหนาวนั้นจะใช้ดื่มเพื่อบรรเทาอาการเจ็บคอ ผลิตภัณฑ์ชนิดนี้จะทำกันในครอบครัวซึ่งแต่ละครอบครัวจะมีความภาคภูมิใจในผลิตภัณฑ์ของตัวเอง

Unagi

ปลาไหล Anguilla japonica ปลาชนิดนี้เกิดในทะเลแต่จะอพยพมาอยู่ในแม่น้ำและทะเลสาบทั่วไปในญี่ปุ่น สามารถโตมีความยาวได้ถึง 50เซนติเมตร และมักจะเพาะเลี้ยงเป็นปลาน้ำจืดอย่างกว้างขวาง มันไม่มีฤดูที่เหมาะที่จะจับอย่างแน่นอนแต่โดยปกติแล้วจะรับประทานกันมากในช่วงฤดูร้อน (รับประทานเป็น Doyo Unagi) เพราะว่ามันให้คุณค่าทางอาหารมากหนึ่งวิธีที่ดีที่สุดที่จะรับประทานปลาไหลคือนิยมนำไปแล่แล้วนำไปย่างบนตะแกง Kabayaki แต่อย่างไรก็ตามมันก็สามารถนำไปทำเป็นอย่างอื่นได้อีกหลายๆอย่าง เช่น เมนูหม้อไฟ (Nabemono) (ใช้เป็น Unabe) และหน้าข้าว (Donburi) (ใช้เป็น Unadon)

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

Unaginokabayaki

ดู ปลาไหลย่างซีอิ้ว

Uni

หอยเม่นทะเลในตระกูล Echinoidea var. genera ไข่สีส้มเหลืองนั้นเป็นอาหารที่ยอดเยี่ยม ซึ่งมันเป็นหนึ่งในสามอาหารราคาแพง (Tenka no san dai chinmi) Uni หอยเม่นทะเลสามารถที่จะใช้รับประทานแบบดิบๆซึ่งใช้เป็นหน้าสำหรับซูชิ Nigirizushi และยังเหมาะที่จะนำมาผสมกับไข่แดงเพื่อเป็นเครื่องแต่งหน้าสำหรับอาหารทะเลย่าง เช่น ปลาไหลย่าง (Uniyaki) ยังใช้ร่วมกับปลาคาร์ฟ (Koromo) สำหรับเมนูยำ Aemono (Uniae) ของหอยเป๋าฮือ (Abalone) (Awabi), แมงกะพรุน (Kurage), และไข่ปลาเฮอริงดองเกลือ (Kazunoko) ที่แสนโดดเด่นได้อีกด้วย ในญี่ปุ่นตะวันตก Shiokara Uni จะถูกเตรียมในปริมาณมากๆ

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

Unohana

ภาษาสุภาพของคำว่า กากเต้าหู้ o-kara

Uoshoyu

โชยุ (Shoyu) ปลา หรือเรียกกันว่า “น้ำปลา” เป็นชื่อที่ตั้งให้ Uoshoyu ด้วยการแปลจากภาษาท้องถิ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเป็นที่ที่มันถูกพบซึ่งชื่อนั้นที่ได้นั้นเป็นการเข้าใจแบบผิดๆ Uoshoyu นั้นเค็มมีสีทองใส เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำโดยการหมักปลาเล็กๆด้วยเกลือ พวกโรมันใช้มันเป็นเครื่องปรุงพื้นฐานเรียกมันว่า Garum หรือ Liquamen ในภาษาลาติน ในปัจจุบันมันเป็นเครื่องปรุงหลักที่ใช้ใน ประเทศไทย ประเทศกัมพูชา ประเทศลาว และ ประเทศฟิลิปปินส์จนกระทั่งซอสถั่วเหลืองเป็นที่รู้จักใน ศตวรรษที่สิบสามซึ่งเข้ามาจากจีนและญี่ปุ่น มันยังถูกผลิตอยู่ในบางส่วนของญี่ปุ่นซึ่งที่ Akita จะเรียกว่า Shottsuru Shottsuru Nabe จะประกอบไปด้วยปลาทราย (Hatahata) เต้าหู้ และผัก ชูรสด้วย (Shottsuru) เป็นเมนูหม้อไฟ (Nabemono) ที่โด่งดัง หลายคนจะไม่ชอบน้ำปลา (Uoshoyu) เพราะกลิ่นคาวปลา แต่ถ้าหากใช้อย่างระมัดระวังแล้วแทบจะเข้ากับอาหารได้ทุกประเภทเลยทีเดียวนั้นเป็นเพราะว่ามันมี อูมามิ (รสอร่อยกลมกล่อม) (Umami) ที่สูงนั่นเอง Ikanago Shoyu ของ เขต Kagawa ก็เป็น Uoshoyu อีกชนิดหนึ่งที่โด่งดัง Uoshoyu คุณภาพดีนั้นเรียกว่า น้ำปลาในภาษาไทยซึ่งทำในประเทศไทย

Uri

พืชประเภทน้ำเต้า ฟักทอง แตงกวา แตงร้าน แตงโม, บวบ, เมลอน เมื่อผักจะรวมถึง Kyuri (แตงกวา) และ Shirouri (เมลอนเอเชียตะวันออกดอง) ด้วย เมื่อเป็นผลไม้จะมีพวก เมลอนและแตงโม (Suika)

Uruka

เกี่ยวกับปลาอายุ Ayu ที่เตรียมเป็น ปลาดองเกลือ (Shiokara)

Usugiri

การหั่นแบบบางๆ ยกตัวอย่าง เช่น แตงกวาหั่นบางๆในเมนูดองในน้ำส้มสายชู (Sunomono)

Usuta Sosu

ซอส Worcester (น้ำซอสรสเปรี้ยว), ซอส Worcestershire ต้นฉบับคือ ซอส Lea and Perrin’s ซึ่งมีสูตรพื้นฐานที่มาจาก พวก แองโกล – อินเดีย จากประเทศอินเดียและถูกนำเข้าญี่ปุ่นในช่วงหลังของ ศตวรรษที่สิบเก้า ซอสชนิดนี้ในแบบญี่ปุ่นนั้นจะไม่ค่อยรุนแรง เป็นที่นิยมมากจนกระทั่งโรงอาหารและภัตตาคารหลายๆแห่งวางมันไว้บนโต๊ะอาหารข้างๆกับซอสถั่วเหลืองสำหรับลูกค้า

Usuzukuri

การแล่แบบบาง เป็นคำที่ใช้สำหรับทำซาชิมิ (Sashimi) ซึ่งหมายถึงปลาสดเนื้อดี เช่น ปลาปั๊กเป้า (Fugu) และยังหมายถึงการจัดเครื่องตกแต่งไว้บนจานอย่างสวยงามด้วย

Uzura

นกกระทา Coturnix เป็นที่นิยมใช้ค่อนข้างน้อยในตำหรับอาหารญี่ปุ่นส่วนมากแล้วจะเป็นอาหารระดับสูง แต่มันก็สามารถนำมาย่างเสิร์ฟและใส่มาในเมนูหม้อไฟ (Nabemono) ก็ได้ ไข่นกกระทาสด (Uzura No Tamago) นั้นหาพบได้ในซูปเปอร์มาร์เก็ตทุกแห่ง ด้วยความที่มันมีขนาดเล็ก (3 เซนติเมตร) มันสามารถที่จะนำไปใช้ได้ทั้งลูกได้โดยการต้มแล้วนำไปตกแต่ง หากเป็นแบบดิบและไม่แกะเปลือกจะถูกใช้วางไว้คู่กับมันเทศ (Yamanoimo) แล้วใช้รับประทานกับซอสถั่วเหลืองในจานที่เรียกว่า Tsukimi Tororo

หน้าแรก

ธุรกิจร้านค้า

ติดต่อ

เมนู

×
กลับ