เลือก: A B c d e f g h i j k m n o p r s t u w y z
ผลิตภัณฑ์จากเต้าหู้ เต้าหู้ที่ผสมด้วยกลอย yamanoimo ป่นและผักหั่นเป็นชิ้นๆ เช่น แครอท, เห็ดหอม (shitake), โกโบ้, เมล็ดงา, แปะก๊วย และสาหร่ายทะเลสีน้ำตาล โดยจะนำมาผสมและปั้นเป็นก้อนกลม ขนาดและรูปทรงนั้นขึ้นอยู่กับท้องถิ่นนั้นๆ จากนั้นลงไปทอดในน้ำมันร้อนๆ อาหารทรงกลมนี้จะใช้ใน โอเด้ง (o-den) และผักต้ม (nimono)
ขิงสไลด์บางๆ และนำไปหมักไว้ในน้ำส้มสายชูหวาน Gari นั้นเสิร์ฟเป็นเครื่องปรุงรสของร้านซูชิทั่วไป และศัพท์นี้เป็นศัพท์เฉพาะจากร้านซูชิเท่านั้น
ปูม้า Neptunus trituberculatus ดูเพิ่มได้ที่ watarigani
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
น้ำส้มสายชูจากข้าวกล้อง นับว่าเป็นน้ำส้มสายชูที่ชั้นยอด และหรูหราส่วนมากจะใช้กรรมวิธีแบบดั้งเดิมในการทำ แต่แบบที่ดีที่สุดนั้นต้องเป็นน้ำส้มสายชูที่ทำจากข้าวกล้องเหนียว (genmai mochigome su) ซึ่งจะหาทานได้ยาก แต่จะให้รสชาติที่เอร็ดอร่อย หอมหวาน และนุ่มลิ้นอย่างมากซึ่งสามารถนำมาจับได้
หนวดปลาหมึกกล้าย นิยมขายในงานเฉลิมฉลองเป็นเทอริยากิ หนวดพวกนี้สามารถนำมาตากแห้งและทำเป็นกับแกล้ม (tsumamimono) ได้ Geso เป็นคำสั้นๆมาจากคำว่า gesoku ซึ่งมีความหมายว่ารองเท้า เป็นศัพท์เฉพาะของร้านซูชิแต่ได้แพร่เข้ามาจนเป็นสำนวนติดปากชาวญี่ปุ่นไปโดยปริยาย
ปลาจินดาระ เป็นลาประเภทเดียวกับปลาคอด สามารถโตจนมีความยาวได้ถึง 1 เมตร ปลาชนิดนี้จะถูกแช่แข็งมาจากทะเล Bering และส่งเข้ามาที่ญี่ปุ่น เป็นปลาที่มีรสชาติเยี่ยมและสามารถประกอบอาหารได้หลายๆแบบ แต่จะเสียง่ายควรจะรีบทำขณะที่ยังเย็นอยู่ ไม่ควรทิ้งไว้นาน
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
แปะก๊วย เป็นผลไม้ที่น่ารักและเป็นต้นไม้แบบฉบับดั้งเดิม (icho ในภาษาญี่ปุ่น) ถึงแม้จะไม่ใช่ถั่วจริงๆ แต่ก็มีเปลือกที่ต้องแกะเสียก่อนถึงจะสามารถทานเนื้อใน เก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม โดยจะมีสีค่อนข้างเหลืองแกมเขียว มีความยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตรเมื่อวัดรวมกับเปลือก จะให้รสชาติยอดเมื่อนำไปเสียบไม้และย่าง และยังเป็นวัตถุดิบปกติและเป็นที่ยอมรับของ ไข่ตุ๋น (chawan mushi) อีกด้วย
ดูเพิ่มได้ที่คำว่า bera
โกโบ้ มีแค่ที่เฉพาะประเทศญี่ปุ่นเท่านั้นที่สามารถนำรากของโกโบ้มาทานเป็นผัก ส่วนมากจะมีความยาวอยู่ที่ 1 เมตรและหนา 3 เซนติเมตร ในประเทศจีนนิยามใช้ทานเป็นยา ตรงส่วนรากนั้นเป็นแหล่งกากใยอาหารชั้นดี และยังมีคุณค่าทางอาหารสูงอีกด้วย ดังนั้นควรจะนำมาทำความสะอาดจะคงคุณค่ากว่าการแกะทิ้งไป เพราะรสชาติส่วนมากของมันนั้นอยู่ใกล้กับส่วนผิวมาก สำหรับการทำนั้นต้องนำมาปลอกออกบางๆ (คล้ายกับการเหลาดินสอเรียกว่า sasagaki ในภาษาญี่ปุ่น) และจุ่มลงในน้ำเย็นผสมน้ำส้มสายชูเล็กน้อยเพื่อเป็นการดึงเอารสขมออก เพราะถ้ายังคงรสชาติที่ขมอยู่จะไม่เหมาะแก่การนำมาทำเป็นหม้อไฟ (nabemono) เมื่อนำเอาโกโบ้มาผสมกับแครอทจะสามารถทำเป็นโกโบ้ผัดน้ำมัน (kinpira gobo) และใช้ใส่ใน เทมปุระผัด (kakiage) ได้ อีกทั้งยังสามารถใส่ไว้ในอาหารจานอื่นได้ตามความเหมาะสม
หนาดทอง cudweed Gnaphalium affine ส่วนมากมักจะรู้จักในชื่อของ hahakogusa ดูเพิ่มได้ที่ nanakusagayu
ข้าวที่หุงแล้ว คำที่ไม่เป็นทางการคือคำว่า meshi ซึ่งมีความหมายว่า มื้ออาหาร
งา Sesamum indicum มีรสชาติคล้ายถั่ว เมล็ดเล็กๆหนึ่งเมล็ดแต่อุดมไปด้วยน้ำมันมากมาย โดยจะแบ่งเป็น 3 ประเภทที่ขายตามท้องตลาด คืองาดำ, งาขาว และงาสีทอง โดยงาสีทองนั้นจะมีกลิ่นหอม แต่จะหาทานได้ยาก โดยส่วนมากนั้นงามักจะถูกนำมาอบแห้งก่อนที่จะนำมาใช้เป็น ผงโรยข้าว (furikake), ยำ (aemono) และเต้าหู้งา (goma dofu) น้ำมันงานั้นก็สามารถใช้ในการทำอาหารได้ โดยเฉพาะในการเพิ่มรสชาติอาหาร และเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผสมลงในน้ำมันที่ใช้ทอดเทมปุระ
เต้าหู้งา จะมีเนื้อที่ค่อนข้างจะแน่น, แห้ง, กลิ่นคล้ายศัสตารด แต่มีสีเทา นี่เป็นเพียงแค่ลักษณะเบื้องต้นของเต้าหู้ประเภทนี้เท่านั้น งาขาวนั้นมักจะอบแห้งและบดกับน้ำ จากนั้นค่อยกรองน้ำออก ตัวน้ำที่กรองออกมานั้นจะผสมด้วยเพื้อให้แข็ง (kuzu) และจัดรูปเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม แนะนำให้เสิร์ฟคู่พร้อมกับวาซาบิ เต้าหู้งานั้นจะเป็นของสำคัญในของโรงเรียนศาสนาที่ทานมังสวิรัติ เช่น อาหารมังสวีรัติ (shojin ryori และ fucha ryori)
เกลืองา sesame salt งาและเกลือนั้นเป็นส่วนประกอบเล็กน้อยที่ถูกรวมเข้ากับเครื่องปรุงอาหารอื่นๆบนโต๊ะอาหาร เมล็ดงาอบแห้งหลายประเภทได้ถูกใช้ และยังเป็นอาหารสำคัญของเทศกาลกินเจอีกด้วย ไม่มีข้อกังขาใดๆ เพราะว่าข้าวกล้องนั้นก็จะขาดรสชาติเพิ่มเติมอย่างเกลือไม่ได้ เช่นกัน
อาหารประเภทข้าวที่มีไก่ชิ้นเล็กๆ, เต้าหู้ และผักอีกหลากชนิดตกแต่ง และเพิ่มรสชาติด้วยซอสถั่วเหลือง และนำมาหุงพร้อมกับข้าว เห็ดหอม (shitake), แครอท, โกโบ้, บุก และ เต้าหู้ทอด ก็นิยมใช้เช่นกัน
ข้าวยำ
อาหารทะเล เช่น ปลา และ หอย
ชาเขียวคุณภาพดี
ดูเพิ่มที่คำว่า uoshoyu
อาหารประเภทเกี๊ยวแบบจีน (ติ่มซำ) ของที่ใช้ทำเป็นไส้มักจะเป็นหมู, กะหล่ำปลี และ nira ที่นำมาสับเพื่อง่ายต่อการใส่เข้าไปในเกี๊ยว นิยมทำเป็นทรงกลมใส่ไว้ในแป้งบางๆ และตกแต่งด้วยจีบลายลูกไม้คล้ายหอยพัดตรงส่วนบน นิยมใช้นึ่งหรือทอด หรืออาจจะต้มใส่ในน้ำซุป หรือหม้อไฟ (nabemono gyoza) นั้นขึ้นชื่ออย่างมาก และนิยมส่งถึงบ้านเพื่อทานเป็นอาหารของชาวญี่ปุ่น
ข้าวหน้าเนื้อสไลด์
เนื้อวัว หลังจากช่วงเวลาที่ยาวนานที่การรับประทานเนื้อกันเป็นสิ่งต้องห้าม จักรพรรดิแห่งราชวงค์เมจิ (Meiji) ได้พยายามอย่างมากเพื่อให้ชาวญี่ปุ่นนั้นได้ทานเนื้อ หลังจากที่มีการออกหนังสืออนุมัติให้ทานเนื้อมาในปี 1873 Gyunabe ที่เรียกว่าสุกี้ยากี้ (sukiyaki) ในปัจจุบัน นั้นได้เริ่มเข้ามาในช่วงปี 1850 ชาบู ก็ได้เริ่มมีชื่อเสียงมากกขึ้นในการทานเมนูเนื้อเช่นเดียวกับเมนู เนื้อย่าง (yakiniku) สไตล์การทานเนื้อแบบตะวันตกก็ได้รับความนิยมพอสมควรเช่นกัน
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง